วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ จังหวะ Jive และ การเคหพยาบาล


๑)  ข้อใดคือความหมายของเคหพยาบาล
๑. เคหพยาบาลหมายถึงการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นหลังจากที่ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทันทีโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
๒. เคหพยาบาลหมายถึงการดูแลผู้ป่วยในช่วงระหว่างการเคลื่อนย้ายโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของยานพาหนะที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายเป็นสำคัญ
๓. เคหพยาบาลหมายถึงการพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อเจ็บป่วยหรือพักฟื้นที่บ้านให้ปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
๔. เคหพยาบาลหมายถึงการดูแลตนเองและครอบครัวเมื่ออยู่ในช่วงการระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ ให้ปลอดภัยและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นในลำดับต่อไปได้

๒) ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของเคหพยาบาล
                ๑. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่กลับมาพักฟื้นที่บ้านได้
                ๒. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว
                ๓. ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในบ้าน
                ๔. ช่วยให้โรงพยาบาลรัฐมีรายได้จากการรักษาพยาบาลมากขึ้น

๓) อาการต่อไปนี้เป็นอาการที่แสดงถึงความผิดปกติของร่างการที่สังเกตได้บริเวณใบหน้า ยกเว้นข้อใด
                ๑. จมูกเป็นแผล หายใจไม่ออก
                ๒. ใบหน้าแดงหรือซีดขาว
                ๓. ตาแดง เหลือง น้ำตาไหล
                ๔. เจ็บบริเวณริมฝีปาก

๔) ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่บ้าน
                ๑. จัดห้องนอนโดยมีญาติคอยนอนดูแลผู้ป่วยในเวลากลางคืน
                ๒. ทำลายสิ่งปฏิกูลของผู้ป่วย
                ๓. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังพยาบาลผู้ป่วย
                ๔. วัดปรอทเพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ

๕) ข้อใดไม่ใช่เอกลักษณ์ของจังหวะไจว์ฟ
                ๑. ห้องดนตรี ๔/๔
                ๒. มีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเสมอ
                ๓. มีจังหวะจะโทน มีการออกท่าทาง
                ๔. เน้นจังหวะบนบีตที่ ๒ และ ๔

๖) รูปแบบในการเต้นจังหวะไจว์ฟคือ
                ๑. Single Rhythm
                ๒. Rock Rhythm
                ๓. Waltz Rhythm
                ๔. Prunch Rhythm

๗) การจับคู่แบบเปิดหมายถึง
๑. การจับคู่กันโดยที่ผู้ชายะยืนซ้อนด้านหลังผู้หญิง
๒. การจับคู่ที่ต้องหันหน้าฝั่งตรงข้ามกันระหว่างเต้น
๓. การจับคู่ที่ไม่ต้องมีการจับมือกันระหว่างเต้นแต่จะใช้การก้างในช่วงจังหวะที่ตรงกัน
๔. การจับคู่ที่ใช้มือจับกันเพียงข้างเดียวโดยฝ่ายชายใช้มือซ้ายจับมือขวาฝ่ายหญิง

๘) ลวดลายพื้นฐานของจังหวะไจว์ฟที่นิยมเต้นกันคือข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
                ๑. Basic in Fallaway
                ๒. Stop and Go
                ๓. German Spin
                ๔. Change of Places Right to Left

การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน

บุคคลส่วนใหญ่เมื่อเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังมักต้องการรักษาตัวที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีความสะดวกสบาย และอบอุ่นจากการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัว มากกว่าในโรงพยาบาล นอกจากในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน และมีอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจรักษาจริง ๆ จึงจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้พยาบาลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และรู้จักดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามสมควรและช่วยให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น

ข้อควรปฏิบัติ ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่บ้าน
1. จัดผู้ป่วยให้นอนแยกห้อง ไม่ปะปนกับผู้อื่น
2. รักษาความสะอาด และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทั้งภายในและภายนอกบ้าน อาจปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การทำลายสิ่งปฏิกูลของผู้ป่วย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำลาย กระดาษเช็ดปาก เศษอาหาร เป็นต้น ควรทำลายโดยการเผาหรือใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
2.2 ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการพยาบาลผู้ป่วย เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่นำโรคได้เป็นอย่างดี
3. วัดปรอท จับชีพจร สังเกตการหายใจ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ และสามารถนำผลจากการสังเกตรายงานให้แพทย์ทราบ จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ข้อความคำนึงในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้น
ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องพักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกตินั้น การพยาบาลพักฟื้นที่บ้านนับว่ามีความสำคัญ ผู้พยาบาลควรคำนึงในสิ่งต่อไปนี้
1. ความสุขสบายของผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นจากความเจ็บปวดและไม่สบาย เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดและกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้พยาบาลอาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง การจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย เป็นต้น
2. สุขภาพจิตของผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรเข้าใจผู้ป่วยในด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมา เพราะอารมณ์ของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิดและโกรธ ได้ง่าย เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนมาก และพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วยอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตนและผู้อื่น ดังนั้นผู้พยาบาลไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่พอใจต่อผู้ป่วย
3. ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเอง เช่น การแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยพักฟื้น เป็นต้น
4. การออกกำลังกายและการพักผ่อน ควรแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
5. อาหาร ควรแนะนำหรือจัดอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ป่วยบางคนจะต้องกินอาหารเฉพาะแพทย์สั่ง เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้พยาบาลควรให้กำลังใจและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อความร่วมมือของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหาร

อ้างอิง

เคหพยาบาล

การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อเจ็บป่วยหรือฟักฟื้นที่บ้าน  ให้ปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน

ประโยชน์ของการเคหพยาบาล
1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว และลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย เพราะทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในบ้าน และสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษา

การสังเกตอาการผู้ป่วย
ผู้ที่พยาบาลผู้ป่วยในบ้านควรสนใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัวฃองตน และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงการเจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น ผู้ที่พยาบาลจะต้องรู้จักสังเกตอาการของผู้ป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งความผิดปกติที่จะสังเกตได้ มีดังนี้
1. ใบหน้า อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ใบหน้าแดง หรือ ซีด ขาว
1.2 ตาแดง เหลือง น้ำตาไหล ซึม มัวหรือใสผิดปกติ มีอาการระคายเคืองต่อแสงสว่าง
 
1.3 จมูกมีน้ำมูกไหล เลือดออก เป็นแผล เจ็บ หายใจไม่ออก
1.4 หูมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหล ปวด บวม แดง
1.5 ปากแห้ง แตก ลิ้นเป็นฝ้า ไอเจ็บคอ ภายใต้คอแดงหรือเป็นฝ้า
2. หน้าอกมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจขัด แรงเร็ว บางรายอาจถึงชัก หรือมีอาการปวดเจ็บภายในบริเวณอก

3. ท้อง มีอาการท้องขึ้น อืด เฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
4 กล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ
5. ผิวหนัง มีอาการบวม แดง ซีด มีเม็ดหรือผื่นขึ้น ผิวหนังอาจร้อนหรือเย็นกว่าปกติ เมื่อเอามือไปสัมผัส
6. อารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หากเป็นเด็กจะร้องกวนบ่อย

จังหวะ Jive

จังหวะ Jive 


ประวัติความเป็นมาของจังวะ Jive
                ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING โดยมีต้นกำเนิดของมาจาก NEW YORK, HALEM
                ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้รับการพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) ซึ่งหมายถึงแมลงเล็กๆ ที่มีอาการแตกตื่น  ชุลมุนวุ่นวาย  เนื่องมาจากจังหวะของเพลงที่ระทึกใจ  กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง  การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง  การเหวี่ยงโยน  และการปลดปล่อยอารมณ์
ซึ่งหลังจากที่ MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว ไจว์ฟก็ได้เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

เอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะไจว์ฟ
                - มีจังหวะจะโคน มีการออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมาจากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว
                - ห้องดนตรี 4/4
                - ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ สอดคล้องกับกฎ ของ I D S F
                - เน้นจังหวะบนบีทที่ 2 และ 4
                - ระยะเวลาในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
                - อาศัยหลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา
                การสื่อความหมายของจังหวะไจว์ฟ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสะบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (TORSO) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์

รูปแบบการเต้นไจว์ฟ
                1. Single Rhythm หรือ Boogie –Woogie หรือ ร็อค 4
                2. Double Rhythm หรือ Jitterbug หรือ ร็อค  6
                3. Triple Rhythm หรือ Jive หรือ ร็อค 8      
                ในปัจจุบันนิยมเต้นไจว์ฟเป็นแบบ Triple Rhythm หรือ ร็อค  8  และในแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตราฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ

ดนตรีและการนับจังหวะ
                ไจว์ฟ เป็นดนตรีประเภท 4/4  คือมี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  ดนตรีจะมีเสียงหนักในจังหวะที่  2 และ 4  ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม อยู่ตลอดเพลง
                ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี  อยู่ระหว่าง 40 – 48 ห้องเพลงต่อ 1 นาที 
                นับจังหวะ 1 ,  2 ,  3 – 4 – 5, 6 – 7 - 8  หรือ เร็ว  เร็ว  เร็วและเร็ว  เร็วและเร็ว  โดย  ที่ก้าวที่ 1,  2 และ 4  มีค่าเท่ากับก้าวละ 1  จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ  3/4  จังหวะ

การจับคู่
                มีทั้งการจับคู่แบบปิดของลาตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่นๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย
                การจับแบบเปิด เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว  คือมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง  ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม  ส่วนมือที่อิสระยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย   ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชาย  เพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนในบางลวดลาย  เช่น  ในลวดลายการเต้นอเมริกันสปิน  เป็นต้น

ท่าทางการเต้น
                การก้าวเท้า: จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น  บางก้าวก็ไม่มี  น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้างอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ  การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ
                แชสเซ่: กลุ่มสเต็ป  3  ก้าว  ซึ่งจะมีการใช้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจจะมีการเต้นไปข้างหน้า  ถอยหลัง  ไปทางซ้าย  ทางขวา  รวมทั้งการหมุนตัวก็จะมีการใช้แชสเซ่

                ลวดลายการเต้นของจังหวะไจว์ฟ ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
      1. เบสิค อิน ฟอลล์อะเวย์  (Basic In Fallaway)
      2. เชนจ์  ออฟ  เพลซ  ไรท์  ทู  เลฟท์  (Chang Of Places Right To Left)
      3. เชนจ์  ออฟ  เพลช  เลฟท์  ทู  ไรท์  (Chang Of Places Left To Right)
      4. ลิงค์  (Link)
      5. วิป  (Whip)
      6. เชนจ์  ออฟ  แฮนด์  บีฮาย  แบค  (Chang Of Hand Behind Back)
      7. อเริกัน  สปิน  (American Spin)
      8. สตอป  แอนด์  โก  (Stop And Go)

อ้างอิง