วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

จังหวะ Jive

จังหวะ Jive 


ประวัติความเป็นมาของจังวะ Jive
                ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING โดยมีต้นกำเนิดของมาจาก NEW YORK, HALEM
                ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้รับการพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) ซึ่งหมายถึงแมลงเล็กๆ ที่มีอาการแตกตื่น  ชุลมุนวุ่นวาย  เนื่องมาจากจังหวะของเพลงที่ระทึกใจ  กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครง  การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง  การเหวี่ยงโยน  และการปลดปล่อยอารมณ์
ซึ่งหลังจากที่ MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว ไจว์ฟก็ได้เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

เอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะไจว์ฟ
                - มีจังหวะจะโคน มีการออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมาจากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว
                - ห้องดนตรี 4/4
                - ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ สอดคล้องกับกฎ ของ I D S F
                - เน้นจังหวะบนบีทที่ 2 และ 4
                - ระยะเวลาในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
                - อาศัยหลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา
                การสื่อความหมายของจังหวะไจว์ฟ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสะบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (TORSO) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์

รูปแบบการเต้นไจว์ฟ
                1. Single Rhythm หรือ Boogie –Woogie หรือ ร็อค 4
                2. Double Rhythm หรือ Jitterbug หรือ ร็อค  6
                3. Triple Rhythm หรือ Jive หรือ ร็อค 8      
                ในปัจจุบันนิยมเต้นไจว์ฟเป็นแบบ Triple Rhythm หรือ ร็อค  8  และในแบบนี้ยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตราฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ

ดนตรีและการนับจังหวะ
                ไจว์ฟ เป็นดนตรีประเภท 4/4  คือมี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  ดนตรีจะมีเสียงหนักในจังหวะที่  2 และ 4  ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม อยู่ตลอดเพลง
                ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี  อยู่ระหว่าง 40 – 48 ห้องเพลงต่อ 1 นาที 
                นับจังหวะ 1 ,  2 ,  3 – 4 – 5, 6 – 7 - 8  หรือ เร็ว  เร็ว  เร็วและเร็ว  เร็วและเร็ว  โดย  ที่ก้าวที่ 1,  2 และ 4  มีค่าเท่ากับก้าวละ 1  จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ  3/4  จังหวะ

การจับคู่
                มีทั้งการจับคู่แบบปิดของลาตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่นๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย
                การจับแบบเปิด เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว  คือมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง  ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม  ส่วนมือที่อิสระยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย   ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชาย  เพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนในบางลวดลาย  เช่น  ในลวดลายการเต้นอเมริกันสปิน  เป็นต้น

ท่าทางการเต้น
                การก้าวเท้า: จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น  บางก้าวก็ไม่มี  น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้างอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ  การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ
                แชสเซ่: กลุ่มสเต็ป  3  ก้าว  ซึ่งจะมีการใช้อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจจะมีการเต้นไปข้างหน้า  ถอยหลัง  ไปทางซ้าย  ทางขวา  รวมทั้งการหมุนตัวก็จะมีการใช้แชสเซ่

                ลวดลายการเต้นของจังหวะไจว์ฟ ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
      1. เบสิค อิน ฟอลล์อะเวย์  (Basic In Fallaway)
      2. เชนจ์  ออฟ  เพลซ  ไรท์  ทู  เลฟท์  (Chang Of Places Right To Left)
      3. เชนจ์  ออฟ  เพลช  เลฟท์  ทู  ไรท์  (Chang Of Places Left To Right)
      4. ลิงค์  (Link)
      5. วิป  (Whip)
      6. เชนจ์  ออฟ  แฮนด์  บีฮาย  แบค  (Chang Of Hand Behind Back)
      7. อเริกัน  สปิน  (American Spin)
      8. สตอป  แอนด์  โก  (Stop And Go)

อ้างอิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น